ทักษิณ บุ๊คบรีฟ
วิถีทุน : จุมพฏ สายหยุด กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 17 มีนาคม 48
เมื่อสักสองสามปีก่อน มีคนตั้งข้อสังเกตกับผมว่า น่าจะมีใครสักคนทำบทคัดย่อหรือ Book Brief หนังสือที่นายกรัฐมนตรีแนะนำคณะรัฐมนตรีให้อ่าน ไม่ใช่เพราะคนไทยขี้เกียจอ่านหนังสือ หรืออ่านภาษาอังกฤษไม่ออก หรือไม่มีปัญญาไปตามซื้อหรอกครับ หากแต่เพราะในเมืองฝรั่งนั้นเรื่อง Book Brief เขาทำกันเป็นล่ำเป็นสัน คือ ฝรั่งเจ้าของภาษาแท้ๆ เขาก็ยังไม่มีเวลาอ่านต้องไปจ้างคนอื่นอ่านแล้วบรีฟให้ฟังอีกที
ดังนั้นพอซีเอ็ดจัดพิมพ์ "109 หนังสือจากนายกฯ ทักษิณ" ผมก็ต้องพูดว่า "ใช่เลย" แล้วรู้สึกทึ่งมากขึ้นที่ทีมงานจัดทำเรื่องนี้คือ ทีมงานบ้านพิษณุโลก หรือที่มีชื่อเป็นทางการว่า "คณะกรรมการติดตามและประสานงานตามคำสั่งการของนายกรัฐมนตรี"
ความจริงส่วนใหญ่ทีมงานผู้จัดทำไม่ได้ทำหน้าที่ในการบรีฟ หนังสือทั้ง 109 ด้วยตนเอง แต่ใช้วิธีการ ให้ตัวท่านนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บรีฟ ซึ่งก็คงต้องขอบคุณระบบการจัดเก็บข้อมูลปาฐกถา และการออกอากาศของคุณทักษิณในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ที่เป็นระบบ และมีความเป็นสาธารณะสูงมาก (คนที่ทำได้ดีเช่นนี้รองลงไปคือ คุณสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
จากนั้นก็ดึงบรีฟจากสื่อต่างๆ ที่เขียนถึงหนังสือเหล่านี้ รวมทั้งจาก "กรุงเทพธุรกิจ" ก็มีอยู่หลายเล่ม ความเด่นของหนังสือเล่มนี้ยังอยู่ที่การอ้างอิงที่เป็นระบบมาก แถมยังมี การดึง "สถิติ" ที่มีสีสันและมีลูกเล่นในท้ายเล่มที่น่าชมเชยอีกอย่างคือ มีหนังสืออยู่ 5 เล่มที่ไม่มีหลักฐานอ้างอิงทางการว่า คุณทักษิณกล่าวถึงเมื่อใด แต่มีแหล่งข้อมูลยืนยันทีมงานก็นำเสนอสาระของหนังสือเหล่านี้ไว้ด้วย
ไม่มีข้อมูลว่า การจัดเตรียมข้อมูลของหนังสือเล่มนี้เริ่มเมื่อไหร่ แต่ข้อมูลบางส่วนในหนังสือระบุว่า ต้นฉบับแล้วเสร็จประมาณปลายเดือน ก.พ. ซึ่งทำให้สามารถพิมพ์แจกผู้มาร่วมงานพิธีรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ทันในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา
ผมขอพักเรื่องสาระของหนังสือเล่มนี้ แต่อยากจะวิเคราะห์ถึงสาเหตุ และผลกระทบของการแนะนำหนังสือของคุณทักษิณ ถึงแม้จะมีการวิจารณ์ในเรื่องนี้ในทำนองที่ว่า อ่านจริงหรือเปล่า หรือการสร้างภาพ แต่ผมอยากจะข้ามพ้นประเด็นเหล่านี้ไป เพื่อไปสู่ประเด็นของการบริหารจัดการ
เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่า คุณทักษิณ จะแนะนำหนังสือแนวบริหารธุรกิจ แต่ที่จริงแล้วท่านแนะนำหนังสือหลายประเภท เช่น ศาสนา วรรณกรรมเด็ก วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี แม้กระทั่งหนังสือเอ็นจีโอ แต่ก็จริงที่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นแนวบริหารธุรกิจ การวางกลยุทธ์องค์กร กระบวนทัศน์ด้านทุน และการฝึกฝนตนเอง
ผมเชื่อว่า คุณทักษิณต้องการใช้การแนะนำหนังสือ เป็นเครื่องมือในการสื่อสารแนวความคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลง เราลองนึกถึงภาพการประชุมคณะรัฐมนตรีที่ร้อยวัน พันปี ก็คือ การประชุมตามวาระที่เป็นราชการมากๆ
ด้วยกระบวนทัศน์แบบเดิมๆ เราได้ทราบว่า คุณทักษิณพยายามเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ และการอ้างสาระของหนังสือที่ท่านได้อ่านก็เป็นกระบวนการตรงนั้น นั่นคงเป็นอุบายอย่างหนึ่งของผู้ทำ เพราะอยู่ดีๆ จะให้อ้างสาระที่แปลกใหม่โดยไม่มีที่มาที่ไป ไม่มีตัวช่วยที่เป็นนักคิด นักเขียน คนก็คงจะไม่เชื่อจริงจังโดยง่าย
แล้วคุณทักษิณ ก็ไม่ได้แนะนำหนังสือเฉพาะรัฐมนตรีเท่านั้น แต่แนะนำกับคนหลายกลุ่มทั้งนักเรียน นักวิทยาศาสตร์ ข้าราชการ หอการค้า สมาคมนักเรียนทุน และผ่านรายการนายกฯ ทักษิณ คุยกับประชาชน
จาก "109 หนังสือจากนายกฯ ทักษิณ" ทำให้ผมได้เห็นจุดเชื่อมโยงอันหนึ่งคือ นอกเหนือจาก "สาระ" ของหนังสือแล้ว หากเราดู "กาลเทศะ" และ "จังหวะ" การบรีฟของคุณทักษิณทั้ง 109 เล่ม ตั้งแต่วรรณกรรมเด็กจนถึง เรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ เราจะพบว่ามีจุดร่วมกันว่า ท่านจะอ้างสาระของหนังสือ เพื่อเรียกร้อง "การเปลี่ยนแปลง" จากกลุ่มเป้าหมายที่ไปพูดให้ฟัง ไม่มีครั้งใดเลยที่ท่านจะอ้างสาระของหนังสือเพื่อ "รักษาสถานะเดิม" ที่มีอยู่
ถ้าเราลองอ่านการบรีฟ "The Heart of Change" ซึ่งเป็นหนึ่งในหนังสือ 109 เล่ม ก็จะพบว่า ในกระบวนการจัดการ การเปลี่ยนแปลงนั้น กำหนดให้ผู้นำต้องสื่อวิสัยทัศน์ให้แก่บุคลากร โดยการใช้ภาษาที่ง่ายและมีความจริงใจ
ในการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงนอกจากจะเริ่มจาก "ทีมผู้นำการเปลี่ยนแปลง" แล้ว ยังต้องสื่อให้คนได้รับรู้เป็นจำนวนมากที่สุดด้วย จึงต้องผ่านหลายๆ ช่องทาง จนกระทั่งคนเริ่มยอมรับวิสัยทัศน์นั้น ซึ่งหมายถึงการเริ่มเปลี่ยนแปลง
การเริ่มเปลี่ยนแปลง และยอมรับการเปลี่ยนแปลงนี้ในที่สุดก็จะแผ่ซ่านไปยังประชาชนในฐานะผู้รับสาร
ถ้าเรามีคำว่า Market Share เพื่อกล่าวถึง "ส่วนแบ่งทางการตลาด" เราอาจจะต้องตระหนักว่า สมองของคนเราแต่ละคนก็มีฐานะเป็น "ตลาด" เช่นกัน สารที่คุณทักษิณส่งมา ได้เข้าจับจองสิ่งที่ผมขอเรียกว่า Knowledge (Market) Share
มือขวาของคุณทักษิณอาจจะถือ "ถุงเงิน" สร้าง Market Share แต่มือซ้ายของท่านก็ถือหนังสืออีก 109 เล่ม
สร้าง Knowledge Share ที่ประสานกันยึดกุมผู้ลงคะแนนกลุ่มใหญ่ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาได้
ท้ายสุดนี้ขอเสนอ "ลูกเล่น" ของทีมงานที่สร้างเสน่ห์ให้ "109 หนังสือจากนายกฯ ทักษิณ" ในช่วงที่สุดของหนังสือ ซึ่งมีหลายที่สุด แต่อยู่เล่มหนึ่งที่ทีมงานเห็นว่า "น่าเบื่อที่สุด" คือหนังสือ Managing Risk เขียนโดย
Alan Waring, Ian Glendon หนังสือเล่มนี้ถูกจัดให้อยู่ในลำดับที่ 109 ซึ่งทีมงานอธิบายว่า
"ความจริงหลักการบริหารความเสี่ยงเป็นสิ่งจำเป็น และมีประโยชน์อย่างยิ่งในการบริหารจัดการในปัจจุบัน และอนาคต นักศึกษาจำเป็นต้องเรียนรู้ แต่ถ้าผู้ที่ไม่ได้อยู่ในวงการหรืออยู่ในสายวิชาชีพที่ต้องใช้นำไปอ่าน ถ้าอ่านได้ถึงบทที่ 3 (Management systems and risk) แล้วยังไม่วางก็นับว่าเก่งแล้ว แต่ถ้าอ่านรวดเดียวถึงบทสุดท้าย (A research agenda) ก็ต้องยกให้เป็นยอดคนเลย เพราะเหมือนอ่านตำราเรียนอย่างไร อย่างนั้น"
ส่วนหนังสือน่าอ่านที่สุด ทีมงานบ้านพิษณุโลก ยกให้ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ของ J.K.Rowling ครับ
วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
Social Lesson 1
หลักการของระบอบ ประชาธิปไตย
วิทยากร เชียงกูล
ความหมายและความสำคัญ
ระบอบประชาธิปไตย หมายถึง ระบอบการปกครองตนเองของประชาชน ตรงกันข้ามกับระบอบอำนาจนิยม ( เช่น ระบอบราชาธิปไตย , ระบอบเผด็จการทหาร, ระบอบอำมาตยาธิปไตย ) ซึ่งเป็นระบอบปกครองโดยคนเดียวหรือโดยคนกลุ่มน้อยผู้มีอำนาจมากกว่าประชาชน ทั่วไป (เรียกว่า พวกอภิสิทธิชน)ในโลกยุคเศรษฐกิจตลาดเสรีสมัยใหม่ คนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นพลเมืองผู้เสียภาษี(ทั้งทางตรงและทาง อ้อม) และเป็นเจ้าของสาธารณสมบัติร่วมกันเชื่อว่าระบอบประชาธิปไตย เป็นระบอบที่จะสร้างความมีประสิทธิภาพ(ในการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศ)และความ เป็นธรรมได้มากกว่าระบอบอำนาจนิยม ในบางสถานการณ์ในระบอบอำนาจนิยม อาจจะมีผู้ปกครองที่เป็นคนดีหรือคนเก่งอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มีหลักประกันว่า เขาหรือลูกหลาน หรือพรรคพวกเขา ที่ได้ตำแหน่งจากการสืบเชื้อสายหรือการแต่งตั้งจะปกครองประเทศได้อย่างมี ประสิทธิภาพและเป็นธรรมสำหรับคนส่วนใหญ่เสมอไป เพราะระบบสืบเชื้อสายและแต่งตั้งเป็นระบบที่ไม่แน่นอนและไม่มีประสิทธิภาพ และเพราะว่าการให้คนสืบทอดอำนาจโดยไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุลมักนำไปสู่การ ฉ้อฉลเพื่อประโยชน์ส่วนตนระบอบประชาธิปไตยดีกว่าระบอบอำนาจนิยมในแง่ที่ว่า มีระบบคัดเลือกผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพกว่าและมีระบบการตรวจสอบถ่วงดุล อำนาจเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ปกครองมีอำนาจมากจนเกินไปได้ดีกว่า แต่ทั้งนี้ต้องเป็นระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชน มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ไม่ใช้สักแค่มีการเลือกตั้ง แต่ยังมีการซื้อเสียงขายเสียง การโกง การใช้อำนาจและระบบอุปถัมภ์
รูปแบบประชาธิปไตย
ระบอบประชาธิปไตย หรือการปกครองตนเองของประชาชน อาจจะแบ่งเป็น
1.ประชาธิปไตยโดยตรง ประชาชนมาประชุมกัน อภิปรายและลงคะแนนกันในเรื่องสำคัญ เช่น การประชุมเรื่องงบประมาณ กฏหมายในระดับท้องถิ่น หรือการลงประชามติในระดับประเทศเช่นการจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ใหม่
2.ประชาธิปไตยโดยระบบผู้แทน เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่มี ประชาชนมาก มีความซับซ้อน ต้องแบ่งงานกันทำจึงมักใช้วิธีเลือกผู้แทนขึ้นไปเป็นฝ่ายบริหารและฝ่ายออก กฏหมาย
3.ประชาธิปไตยแบบประชาชนมีส่วนร่วม การผสมผสานทั้ง 2 แบบแรก รวมทั้งการให้ประชาชนมีการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่นมีองค์กรอิสระที่รักษา ผลประโยชน์ฝ่ายประชาชน มีสื่อมวลชนและองค์กรประชาชนที่เข้มแข็งภาคประชาชนหรือสังคมพลเมืองมีบทบาท ในการตัดสินใจเรื่องการบริหารประเทศค่อนข้างมาก ไม่ได้ปล่อยให้ผู้แทนทำทุกอย่างโดยประชาชนให้ใช้สิทธิแค่เลือกตั้งผู้แทน นานๆครั้งเท่านั้นตั้งแต่ปี 2475 ประเทศไทย ใช้ประชาธิปไตยแบบที่ 2 เป็นบางช่วง (บางช่วงเป็ฯเผด็จการทหาร) ประเทศไทยควรใช้แบบที่ 1 และ 3 เพิ่มขึ้นเพราะระบอบประชาธิปไตย โดยระบบผู้แทนมีข้อจำกัด โดยเฉพาะในสภาพที่นักการเมืองกลุ่มน้อยมีฐานะทางเศรษฐกิจสูง มีอำนาจและความรู้สูงกว่าประชาชนส่วนใหญ่มาก ทำให้คนกลุ่มนี้มักได้เป็นผู้แทนและมักจะทำอะไรก็ทำได้ตามใจชอบรวมทั้งการ คอรัปชั่น,การหาผลประโยชน์ทับซ้อน โดยอ้างว่าเพราะประชาชนเลือกพวกเขาเข้าไปแล้ว เขาจะทำอะไรก็ถือว่าเป็นประชาธิปไตยทั้งนั้นประชาธิปไตย โดยระบบผู้แทน หมายถึงว่า ประชาชนเลือกผู้แทนเข้าไปเป็นผู้บริหารจัดการแทนตัวพวกเขา เพื่อให้บริหารประเทศเพื่อประโยชน์ของประชาชน ไม่ใช่เลือกไปเป็นเจ้านายและประชาชนยังมีสิทธิคัดค้านถอดถอนผู้แทนที่ขึ้นไป เป็นรัฐบาลแล้วไม่ได้ทำหน้าที่อย่างซื่อตรงและเพื่อส่วนรวมด้วย แต่รัฐธรรมนูญที่ผ่านมาไม่ได้เปิดช่องทางและไม่มีการให้การศึกษาและข่าวสาร แก่ประชาชนว่า ประชาชนมีสิทธิ ประการหลังที่สำคัญนี้ด้วยประชาชนไม่ได้เลือกผู้แทนไปเป็นเจ้านายในระบอบ อำนาจนิยมซึ่งเป็นระบอบเก่า แต่วัฒนธรรมแบบอำนาจนิยม (ยกย่องเกรงกลัวคนมีอำนาจ) ยังคงตกค้างมาจนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะในประเทศไทยและประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ที่ประชาชนได้รับการศึกษาและข่าวสารน้อยและหรือได้รับแบบคุณภาพต่ำทำให้เป็น ประชาธิปไตยแค่รูปแบบ หรือเป็นประชาธิปไตยเพียงบางส่วน ยังไม่ใช่การปกครองตนเองของประชาชนที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงระบอบ ประชาธิปไตย ไม่ใช่หมายถึงแค่ ประชาธิปไตยทางการเมือง (ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ เลือกตั้ง คัดค้าน ถอดถอน ผู้แทนได้) เท่านั้น หากต้องเป็นประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ (มีการกระจายทรัพย์สิน และรายได้ที่เป็นธรรม มีการแข่งขันที่เป็นธรรม) และประชาธิปไตยทาง สังคม (ประชาชนมีการศึกษา รับรู้ข้อมูลข่าวสาร มีสิทธิเสรีภาพ และโอกาสการเข้าถึง ศาสนา ความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรม อย่างเสมอภาคกัน) ด้วย ประชาธิปไตย 2 อย่างหลังนี้ ประเทศไทยยังมีน้อย รวมทั้ง ไม่มีการให้การศึกษา ให้ความรู้ ข้อมูลข่าวสารประชาชนในเรื่องนี้มากพอ เป็นเหตุให้ประชาธิปไตย การเมือง พัฒนาไปได้ช้ามาก
ประชาธิปไตยในแง่เนื้อหาระบอบประชาธิปไตยไม่ได้หมายถึง แค่ระบบการเลือกตั้ง หากต้องประกอบไปด้วยสภาวะความเป็นประชาธิปไตย อย่างน้อย 6 ข้อ คือ
1.การเลือกตั้งผู้แทนจะต้องเป็นอิสระและยุติธรรมไม่มี การใช้อำนาจหน้าที่ของ เจ้าหน้าที่รัฐเพื่อโกงการเลือกตั้ง ไม่มีการซื้อเสียงขายเสียง และการที่กลุ่มอภิสิทธิชนใช้อำนาจอิทธิพลระบอบอุปถัมภ์ ให้คนต้องเลือกเฉพาะพวกเขาบางคน
2.จะต้องมีระบบการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจที่ดี เช่น ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระ องค์กรประชาชนสามารถตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารได้ และต่างฝ่ายต่างตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน รวมทั้งภาคประชาชนสามารถถอดถอนผู้แทนที่มีพฤติกรรมไม่ชอบธรรมได้
3.การบริหารบ้านเมืองจะต้องโปร่งใสมีเหตุผลอธิบาย ได้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวมไม่มีการคอรัปชั่น การหาผลประโยชน์ทับซ้อน การเล่นพรรคพวก หาประโยชน์ส่วนตัว
4.มีรัฐธรรมนูญและกฏหมาย ขนบธรรมเนียม ที่มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่ อย่างมี เหตุผล มีความคงเส้นคงวา คนส่วนใหญ่ยอมรับ และรัฐธรรมนูญ กฎหมาย เหล่านั้นมีผลบังคับใช้ด้วย
5.สื่อมวลชนและองค์กรประชาชนมิสิทธิเสรีภาพ, เป็นอิสระ, มีศักดิ์ศรี และเข้มแข็ง ประชาชนมีจิตสำนึกความเป็น พลเมือง และมีส่วนร่วมในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การแสดงความคิดเห็น การสมาคมการชุมนุม การทำประชาพิจารณ์ (เปิดอภิปรายความคิดเห็นประชาชนเรื่องกฏหมายและโครงการต่างๆ) และการลงประชามติว่า ประชาชนจะรับหรือไม่ในเรื่องสำคัญๆ
6.มีการกระจายการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สู่ประชาชน ทำให้เกิดประชาธิปไตยทาง เศรษฐกิจและสังคม และการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่มั่นคง สม่ำเสมอ
ดังนั้น แม้จะมีการเลือกตั้งและมีผู้สมัคร สส. จากพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาด้วยเสียงข้างมาก แต่ถ้าไม่ได้เกิดสภาวะความเป็นประชาธิปไตยตามแนวทาง 6 ข้อนี้ เช่น เป็นรัฐบาลที่ใช้อำนาจผูกขาดแทรกแซงองค์กรอิสระ ปิดปากสื่อมวลชนและประชาชน คอรัปชั่น หาผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง เราก็ควรถือว่าระบอบการปกครองแบบนี้เป็นระบอบประชาธิปไตยเพียงเปลือกนอก หรือเป็นประชาธิปไตยจอมปลอมไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วม อย่างแท้จริง
หากในบางช่วง เช่น หลัง พ.ศ. 2475-2490 , พ.ศ. 2516-2519 ฯลฯ เรามีสภาวะความเป็นประชาธิปไตยบางข้อ มากบ้างน้อยบ้าง ก็อาจถือว่ามีความเป็นระบอบประชาธิปไตยในเชิงเปรียบเทียบ (กับประเทศอื่น,กับประวัติศาสตร์ช่วงอื่น) ได้ระดับหนึ่ง
ประเด็นที่สำคัญคือ ประเทศใดจะเป็นประชาธิปไตยในแง่เนื้อหามากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับความตื่นตัว และความเข้มแข็งของภาคประชาชนในแต่ละประเทศในแต่ละช่วงตอนของประวัติศาสตร์ เป็นสำคัญหลักการประชาธิปไตย
ระบอบประชาธิปไตย อยู่บนรากฐานหลักการที่สำคัญ 5 ประการ คือ
1. หลักการอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนประชาชนแสดงออกซึ่งการเป็นเจ้า ของโดยใช้อำนาจที่มีตามกระบวนการเลือกตั้งอย่างอิสระและทั่วถึงในการให้ได้ มาซึ่งตัวผู้ปกครองและผู้แทนของตน รวมทั้งประชาชนมีอำนาจในการคัดค้านและถอดถอนผู้ปกครองและผู้แทนที่ประชาชน เห็นว่า มิได้บริหารประเทศในทางที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม เช่น มีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติ
2. หลักเสรีภาพ ประชาชนทุกคนมีความสามารถในการกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ที่บุคคลต้องการตราบเท่าที่การกระทำของเขานั้น ไม่ไปละเมิดลิดรอนสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น หรือละเมิดต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมและความมั่นคงของประเทศชาติ
3. หลักความเสมอภาค การเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงทรัพยากรและคุณค่าต่างๆของสังคม ที่มีอยู่จำกัดอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ถูกกีดกันด้วยสาเหตุแห่งความแตกต่างทางชั้นวรรณะทางสังคมชาติพันธุ์ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ ฐานะทางเศรษฐกิจหรือด้วยสาเหตุอื่น
4.หลักการปกครองโดยกฏหมายหรือหลักนิติธรรมการให้ ความคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทั้งในเรื่องสิทธิเสรีภาพใน ทรัพย์สิน การแสดงออก การดำรงชีพ ฯลฯ อย่างเสมอหน้ากันโดยผู้ปกครองไม่สามารถใช้อำนาจใดๆลิดรอนเพิกถอนสิทธิ เสรีภาพของประชาชนได้ และไม่สามารถใช้อภิสิทธิอยู่เหนือกฏหมาย หรือเหนือกว่าประชาชนคนอื่นๆได้
5. หลักการเสียงข้างมาก (Majority rule)ควบคู่ไปกับการเคารพในสิทธิของเสียงข้างน้อย (Minority Rights) การ ตัดสินใจใดๆที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนหมู่มาก ไม่ว่าจะเป็น การเลือกตั้งผู้แทนของประชาชนเข้าสู่ระบบการเมือง การตัดสินใจของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายตุลาการ ย่อมต้องถือเอาเสียงข้างมากที่มีต่อเรื่องนั้นๆ เป็นเกณฑ์ในการตัดสินทางเลือก โดยถือว่าเสียงข้างมากเป็นตัวแทนที่สะท้อนความต้องการ/ข้อเรียกร้องของ ประชาชนหมู่มาก หลักการนี้ ต้องควบคู่ไปกับการ เคารพและคุ้มครอง สิทธิเสียงข้างน้อยด้วยทั้งนี้ก็เพื่อเป็นหลักประกันว่า ฝ่ายเสียงข้างมากจะไม่ใช้วิธีการพวกมากลากไปตามผลประโยชน์ความเห็นหรือกระแส ความนิยมของพวกตนอย่างสุดโต่ง แต่ต้องดำเนินการเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งหมด เพื่อสร้างสังคมที่ประชาชนเสียงข้างน้อย รวมทั้งชนกลุ่มน้อยผู้ด้อยโอกาสต่างๆสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขโดย ไม่มีการเอาเปรียบกันและสร้างความขัดแย้งในสังคมมากเกินไปค่านิยม ทัศนคติ ที่ส่งเสริมประชาธิปไตยระบอบประชาธิปไตย นอกจากจะเป็นระบอบการเมืองแล้วยังเป็นระบอบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมด้วย ดังนั้นจึงไม่ใช่อยู่ที่รัฐธรรมนูญ กฏหมาย การเลือกตั้ง และการต่อรองทางการเมืองเท่านั้นหากอยู่ที่สมาชิกในสังคมจะต้องช่วยกันหล่อ หลอม สร้างค่านิยมวิถีชีวิต ที่เป็นประชาธิปไตย มาตั้งแต่ในครอบครัว โรงเรียน ที่ทำงาน ชุมชน เพื่อจะนำไปสู่หรือการปกป้อง ระบอบประชาธิปไตย ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
ค่านิยมประชาธิปไตยที่ประชาชน ระบบการศึกษา สื่อมวลชน ฯลฯ ควรช่วยกันสร้างคือ
1.เป็นคนที่มีเหตุผล ยอมรับเรื่องสิทธิหน้าที่ ความเป็นจริงในทางสังคม เคารพในตัวเอง เคารพในศีลธรรมและประโยชน์ร่วมกันของส่วนรวม
2.มีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์ มีความเคารพซึ่งกันและกัน และมีความสามัคคี
3.เข้าใจความจำเป็นและประโยชน์ของการเข้ามาอยู่ร่วมกันเป็นพลเมืองของประเทศ เพื่อประโยชน์ของสมาชิกทุกคนในระยะยาว4.เคารพกฏหมายและดำเนินชีวิตในกรอบของ กฏหมายที่มีเหตุผลและเป็นธรรม
5.มีจิตใจเปิดกว้างและพร้อมที่ปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้
6.เป็นคนที่มีความรับผิดชอบผูกพันกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป
7.มีจิตใจที่เป็นธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไม่มีอคติต่อผู้ที่มีความแตกต่างจากตน เช่น นับถือ ศาสนาอื่นหรือเชื้อชาติอื่น เป็นต้นบทบาทของประชาชนในการเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่แค่การใช้สิทธิในการเลือกตั้งนานๆครั้งและพยายามเลือกคนดีคนเก่งมาบริ หารประเทศเท่านั้น ประชาชนต้องขวนขวาย ศึกษา พัฒนาตนเอง ใช้สิทธิและหน้าที่พลเมืองที่ดีเข้าไปแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการ บริหารประเทศ ในการตัดสินใจ เรื่องการใช้ทรัพยากรของประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ของชุมชน จังหวัด และประเทศ อย่างแข็งขัน และอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปีและทุกปีด้วย
วิทยากร เชียงกูล
ความหมายและความสำคัญ
ระบอบประชาธิปไตย หมายถึง ระบอบการปกครองตนเองของประชาชน ตรงกันข้ามกับระบอบอำนาจนิยม ( เช่น ระบอบราชาธิปไตย , ระบอบเผด็จการทหาร, ระบอบอำมาตยาธิปไตย ) ซึ่งเป็นระบอบปกครองโดยคนเดียวหรือโดยคนกลุ่มน้อยผู้มีอำนาจมากกว่าประชาชน ทั่วไป (เรียกว่า พวกอภิสิทธิชน)ในโลกยุคเศรษฐกิจตลาดเสรีสมัยใหม่ คนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นพลเมืองผู้เสียภาษี(ทั้งทางตรงและทาง อ้อม) และเป็นเจ้าของสาธารณสมบัติร่วมกันเชื่อว่าระบอบประชาธิปไตย เป็นระบอบที่จะสร้างความมีประสิทธิภาพ(ในการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศ)และความ เป็นธรรมได้มากกว่าระบอบอำนาจนิยม ในบางสถานการณ์ในระบอบอำนาจนิยม อาจจะมีผู้ปกครองที่เป็นคนดีหรือคนเก่งอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มีหลักประกันว่า เขาหรือลูกหลาน หรือพรรคพวกเขา ที่ได้ตำแหน่งจากการสืบเชื้อสายหรือการแต่งตั้งจะปกครองประเทศได้อย่างมี ประสิทธิภาพและเป็นธรรมสำหรับคนส่วนใหญ่เสมอไป เพราะระบบสืบเชื้อสายและแต่งตั้งเป็นระบบที่ไม่แน่นอนและไม่มีประสิทธิภาพ และเพราะว่าการให้คนสืบทอดอำนาจโดยไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุลมักนำไปสู่การ ฉ้อฉลเพื่อประโยชน์ส่วนตนระบอบประชาธิปไตยดีกว่าระบอบอำนาจนิยมในแง่ที่ว่า มีระบบคัดเลือกผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพกว่าและมีระบบการตรวจสอบถ่วงดุล อำนาจเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ปกครองมีอำนาจมากจนเกินไปได้ดีกว่า แต่ทั้งนี้ต้องเป็นระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชน มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ไม่ใช้สักแค่มีการเลือกตั้ง แต่ยังมีการซื้อเสียงขายเสียง การโกง การใช้อำนาจและระบบอุปถัมภ์
รูปแบบประชาธิปไตย
ระบอบประชาธิปไตย หรือการปกครองตนเองของประชาชน อาจจะแบ่งเป็น
1.ประชาธิปไตยโดยตรง ประชาชนมาประชุมกัน อภิปรายและลงคะแนนกันในเรื่องสำคัญ เช่น การประชุมเรื่องงบประมาณ กฏหมายในระดับท้องถิ่น หรือการลงประชามติในระดับประเทศเช่นการจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ใหม่
2.ประชาธิปไตยโดยระบบผู้แทน เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่มี ประชาชนมาก มีความซับซ้อน ต้องแบ่งงานกันทำจึงมักใช้วิธีเลือกผู้แทนขึ้นไปเป็นฝ่ายบริหารและฝ่ายออก กฏหมาย
3.ประชาธิปไตยแบบประชาชนมีส่วนร่วม การผสมผสานทั้ง 2 แบบแรก รวมทั้งการให้ประชาชนมีการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่นมีองค์กรอิสระที่รักษา ผลประโยชน์ฝ่ายประชาชน มีสื่อมวลชนและองค์กรประชาชนที่เข้มแข็งภาคประชาชนหรือสังคมพลเมืองมีบทบาท ในการตัดสินใจเรื่องการบริหารประเทศค่อนข้างมาก ไม่ได้ปล่อยให้ผู้แทนทำทุกอย่างโดยประชาชนให้ใช้สิทธิแค่เลือกตั้งผู้แทน นานๆครั้งเท่านั้นตั้งแต่ปี 2475 ประเทศไทย ใช้ประชาธิปไตยแบบที่ 2 เป็นบางช่วง (บางช่วงเป็ฯเผด็จการทหาร) ประเทศไทยควรใช้แบบที่ 1 และ 3 เพิ่มขึ้นเพราะระบอบประชาธิปไตย โดยระบบผู้แทนมีข้อจำกัด โดยเฉพาะในสภาพที่นักการเมืองกลุ่มน้อยมีฐานะทางเศรษฐกิจสูง มีอำนาจและความรู้สูงกว่าประชาชนส่วนใหญ่มาก ทำให้คนกลุ่มนี้มักได้เป็นผู้แทนและมักจะทำอะไรก็ทำได้ตามใจชอบรวมทั้งการ คอรัปชั่น,การหาผลประโยชน์ทับซ้อน โดยอ้างว่าเพราะประชาชนเลือกพวกเขาเข้าไปแล้ว เขาจะทำอะไรก็ถือว่าเป็นประชาธิปไตยทั้งนั้นประชาธิปไตย โดยระบบผู้แทน หมายถึงว่า ประชาชนเลือกผู้แทนเข้าไปเป็นผู้บริหารจัดการแทนตัวพวกเขา เพื่อให้บริหารประเทศเพื่อประโยชน์ของประชาชน ไม่ใช่เลือกไปเป็นเจ้านายและประชาชนยังมีสิทธิคัดค้านถอดถอนผู้แทนที่ขึ้นไป เป็นรัฐบาลแล้วไม่ได้ทำหน้าที่อย่างซื่อตรงและเพื่อส่วนรวมด้วย แต่รัฐธรรมนูญที่ผ่านมาไม่ได้เปิดช่องทางและไม่มีการให้การศึกษาและข่าวสาร แก่ประชาชนว่า ประชาชนมีสิทธิ ประการหลังที่สำคัญนี้ด้วยประชาชนไม่ได้เลือกผู้แทนไปเป็นเจ้านายในระบอบ อำนาจนิยมซึ่งเป็นระบอบเก่า แต่วัฒนธรรมแบบอำนาจนิยม (ยกย่องเกรงกลัวคนมีอำนาจ) ยังคงตกค้างมาจนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะในประเทศไทยและประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ที่ประชาชนได้รับการศึกษาและข่าวสารน้อยและหรือได้รับแบบคุณภาพต่ำทำให้เป็น ประชาธิปไตยแค่รูปแบบ หรือเป็นประชาธิปไตยเพียงบางส่วน ยังไม่ใช่การปกครองตนเองของประชาชนที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงระบอบ ประชาธิปไตย ไม่ใช่หมายถึงแค่ ประชาธิปไตยทางการเมือง (ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ เลือกตั้ง คัดค้าน ถอดถอน ผู้แทนได้) เท่านั้น หากต้องเป็นประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ (มีการกระจายทรัพย์สิน และรายได้ที่เป็นธรรม มีการแข่งขันที่เป็นธรรม) และประชาธิปไตยทาง สังคม (ประชาชนมีการศึกษา รับรู้ข้อมูลข่าวสาร มีสิทธิเสรีภาพ และโอกาสการเข้าถึง ศาสนา ความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรม อย่างเสมอภาคกัน) ด้วย ประชาธิปไตย 2 อย่างหลังนี้ ประเทศไทยยังมีน้อย รวมทั้ง ไม่มีการให้การศึกษา ให้ความรู้ ข้อมูลข่าวสารประชาชนในเรื่องนี้มากพอ เป็นเหตุให้ประชาธิปไตย การเมือง พัฒนาไปได้ช้ามาก
ประชาธิปไตยในแง่เนื้อหาระบอบประชาธิปไตยไม่ได้หมายถึง แค่ระบบการเลือกตั้ง หากต้องประกอบไปด้วยสภาวะความเป็นประชาธิปไตย อย่างน้อย 6 ข้อ คือ
1.การเลือกตั้งผู้แทนจะต้องเป็นอิสระและยุติธรรมไม่มี การใช้อำนาจหน้าที่ของ เจ้าหน้าที่รัฐเพื่อโกงการเลือกตั้ง ไม่มีการซื้อเสียงขายเสียง และการที่กลุ่มอภิสิทธิชนใช้อำนาจอิทธิพลระบอบอุปถัมภ์ ให้คนต้องเลือกเฉพาะพวกเขาบางคน
2.จะต้องมีระบบการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจที่ดี เช่น ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระ องค์กรประชาชนสามารถตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารได้ และต่างฝ่ายต่างตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน รวมทั้งภาคประชาชนสามารถถอดถอนผู้แทนที่มีพฤติกรรมไม่ชอบธรรมได้
3.การบริหารบ้านเมืองจะต้องโปร่งใสมีเหตุผลอธิบาย ได้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวมไม่มีการคอรัปชั่น การหาผลประโยชน์ทับซ้อน การเล่นพรรคพวก หาประโยชน์ส่วนตัว
4.มีรัฐธรรมนูญและกฏหมาย ขนบธรรมเนียม ที่มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่ อย่างมี เหตุผล มีความคงเส้นคงวา คนส่วนใหญ่ยอมรับ และรัฐธรรมนูญ กฎหมาย เหล่านั้นมีผลบังคับใช้ด้วย
5.สื่อมวลชนและองค์กรประชาชนมิสิทธิเสรีภาพ, เป็นอิสระ, มีศักดิ์ศรี และเข้มแข็ง ประชาชนมีจิตสำนึกความเป็น พลเมือง และมีส่วนร่วมในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การแสดงความคิดเห็น การสมาคมการชุมนุม การทำประชาพิจารณ์ (เปิดอภิปรายความคิดเห็นประชาชนเรื่องกฏหมายและโครงการต่างๆ) และการลงประชามติว่า ประชาชนจะรับหรือไม่ในเรื่องสำคัญๆ
6.มีการกระจายการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สู่ประชาชน ทำให้เกิดประชาธิปไตยทาง เศรษฐกิจและสังคม และการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่มั่นคง สม่ำเสมอ
ดังนั้น แม้จะมีการเลือกตั้งและมีผู้สมัคร สส. จากพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาด้วยเสียงข้างมาก แต่ถ้าไม่ได้เกิดสภาวะความเป็นประชาธิปไตยตามแนวทาง 6 ข้อนี้ เช่น เป็นรัฐบาลที่ใช้อำนาจผูกขาดแทรกแซงองค์กรอิสระ ปิดปากสื่อมวลชนและประชาชน คอรัปชั่น หาผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง เราก็ควรถือว่าระบอบการปกครองแบบนี้เป็นระบอบประชาธิปไตยเพียงเปลือกนอก หรือเป็นประชาธิปไตยจอมปลอมไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วม อย่างแท้จริง
หากในบางช่วง เช่น หลัง พ.ศ. 2475-2490 , พ.ศ. 2516-2519 ฯลฯ เรามีสภาวะความเป็นประชาธิปไตยบางข้อ มากบ้างน้อยบ้าง ก็อาจถือว่ามีความเป็นระบอบประชาธิปไตยในเชิงเปรียบเทียบ (กับประเทศอื่น,กับประวัติศาสตร์ช่วงอื่น) ได้ระดับหนึ่ง
ประเด็นที่สำคัญคือ ประเทศใดจะเป็นประชาธิปไตยในแง่เนื้อหามากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับความตื่นตัว และความเข้มแข็งของภาคประชาชนในแต่ละประเทศในแต่ละช่วงตอนของประวัติศาสตร์ เป็นสำคัญหลักการประชาธิปไตย
ระบอบประชาธิปไตย อยู่บนรากฐานหลักการที่สำคัญ 5 ประการ คือ
1. หลักการอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนประชาชนแสดงออกซึ่งการเป็นเจ้า ของโดยใช้อำนาจที่มีตามกระบวนการเลือกตั้งอย่างอิสระและทั่วถึงในการให้ได้ มาซึ่งตัวผู้ปกครองและผู้แทนของตน รวมทั้งประชาชนมีอำนาจในการคัดค้านและถอดถอนผู้ปกครองและผู้แทนที่ประชาชน เห็นว่า มิได้บริหารประเทศในทางที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม เช่น มีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติ
2. หลักเสรีภาพ ประชาชนทุกคนมีความสามารถในการกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ที่บุคคลต้องการตราบเท่าที่การกระทำของเขานั้น ไม่ไปละเมิดลิดรอนสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น หรือละเมิดต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมและความมั่นคงของประเทศชาติ
3. หลักความเสมอภาค การเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงทรัพยากรและคุณค่าต่างๆของสังคม ที่มีอยู่จำกัดอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ถูกกีดกันด้วยสาเหตุแห่งความแตกต่างทางชั้นวรรณะทางสังคมชาติพันธุ์ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ ฐานะทางเศรษฐกิจหรือด้วยสาเหตุอื่น
4.หลักการปกครองโดยกฏหมายหรือหลักนิติธรรมการให้ ความคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทั้งในเรื่องสิทธิเสรีภาพใน ทรัพย์สิน การแสดงออก การดำรงชีพ ฯลฯ อย่างเสมอหน้ากันโดยผู้ปกครองไม่สามารถใช้อำนาจใดๆลิดรอนเพิกถอนสิทธิ เสรีภาพของประชาชนได้ และไม่สามารถใช้อภิสิทธิอยู่เหนือกฏหมาย หรือเหนือกว่าประชาชนคนอื่นๆได้
5. หลักการเสียงข้างมาก (Majority rule)ควบคู่ไปกับการเคารพในสิทธิของเสียงข้างน้อย (Minority Rights) การ ตัดสินใจใดๆที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนหมู่มาก ไม่ว่าจะเป็น การเลือกตั้งผู้แทนของประชาชนเข้าสู่ระบบการเมือง การตัดสินใจของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายตุลาการ ย่อมต้องถือเอาเสียงข้างมากที่มีต่อเรื่องนั้นๆ เป็นเกณฑ์ในการตัดสินทางเลือก โดยถือว่าเสียงข้างมากเป็นตัวแทนที่สะท้อนความต้องการ/ข้อเรียกร้องของ ประชาชนหมู่มาก หลักการนี้ ต้องควบคู่ไปกับการ เคารพและคุ้มครอง สิทธิเสียงข้างน้อยด้วยทั้งนี้ก็เพื่อเป็นหลักประกันว่า ฝ่ายเสียงข้างมากจะไม่ใช้วิธีการพวกมากลากไปตามผลประโยชน์ความเห็นหรือกระแส ความนิยมของพวกตนอย่างสุดโต่ง แต่ต้องดำเนินการเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งหมด เพื่อสร้างสังคมที่ประชาชนเสียงข้างน้อย รวมทั้งชนกลุ่มน้อยผู้ด้อยโอกาสต่างๆสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขโดย ไม่มีการเอาเปรียบกันและสร้างความขัดแย้งในสังคมมากเกินไปค่านิยม ทัศนคติ ที่ส่งเสริมประชาธิปไตยระบอบประชาธิปไตย นอกจากจะเป็นระบอบการเมืองแล้วยังเป็นระบอบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมด้วย ดังนั้นจึงไม่ใช่อยู่ที่รัฐธรรมนูญ กฏหมาย การเลือกตั้ง และการต่อรองทางการเมืองเท่านั้นหากอยู่ที่สมาชิกในสังคมจะต้องช่วยกันหล่อ หลอม สร้างค่านิยมวิถีชีวิต ที่เป็นประชาธิปไตย มาตั้งแต่ในครอบครัว โรงเรียน ที่ทำงาน ชุมชน เพื่อจะนำไปสู่หรือการปกป้อง ระบอบประชาธิปไตย ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
ค่านิยมประชาธิปไตยที่ประชาชน ระบบการศึกษา สื่อมวลชน ฯลฯ ควรช่วยกันสร้างคือ
1.เป็นคนที่มีเหตุผล ยอมรับเรื่องสิทธิหน้าที่ ความเป็นจริงในทางสังคม เคารพในตัวเอง เคารพในศีลธรรมและประโยชน์ร่วมกันของส่วนรวม
2.มีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์ มีความเคารพซึ่งกันและกัน และมีความสามัคคี
3.เข้าใจความจำเป็นและประโยชน์ของการเข้ามาอยู่ร่วมกันเป็นพลเมืองของประเทศ เพื่อประโยชน์ของสมาชิกทุกคนในระยะยาว4.เคารพกฏหมายและดำเนินชีวิตในกรอบของ กฏหมายที่มีเหตุผลและเป็นธรรม
5.มีจิตใจเปิดกว้างและพร้อมที่ปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้
6.เป็นคนที่มีความรับผิดชอบผูกพันกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป
7.มีจิตใจที่เป็นธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไม่มีอคติต่อผู้ที่มีความแตกต่างจากตน เช่น นับถือ ศาสนาอื่นหรือเชื้อชาติอื่น เป็นต้นบทบาทของประชาชนในการเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่แค่การใช้สิทธิในการเลือกตั้งนานๆครั้งและพยายามเลือกคนดีคนเก่งมาบริ หารประเทศเท่านั้น ประชาชนต้องขวนขวาย ศึกษา พัฒนาตนเอง ใช้สิทธิและหน้าที่พลเมืองที่ดีเข้าไปแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการ บริหารประเทศ ในการตัดสินใจ เรื่องการใช้ทรัพยากรของประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ของชุมชน จังหวัด และประเทศ อย่างแข็งขัน และอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปีและทุกปีด้วย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)